การแบ่งประเภทของระบบปฎิบัติการ

ใบงานที่ 2 

การแบ่งประเภทของระบบปฎิบัติการ

จัดทำโดย นายวีเอกมนตรี กระดุมผล  รหัสนักศึกษา 60312800671

 ระบบประปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 3 ประเภท

 1 ระบบปฎิบัติการแบบเดี่ยว ( stand alone os ) 

       เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว (เจ้าของเครื่องนั้น ๆ) นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย

      DOS (Disk Operating System)
      Windows   
      Unix   
      Mac OS X   
      Linux

      ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้ (User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรงเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์ ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น








      ระบบปฏิบัติการ Unix
Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับ ระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ
(Multitasking system) 




    ระบบปฏิบัติการ Linux
Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000 เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็ คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็น รุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับส

นุนการทํางานแบบหลายซีพียู
     ระบบปฏิบัติการ DOS
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการ สําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วย ความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไป ปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:\>) ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก


  2 ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS )

     ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi - user ) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้เรียกว่า เครื่อง server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง  
       
     Windows Server   
     OS/2 Warp Server   
     Solaris
 

      ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (Windows Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง นิยมติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลและโปรแกรมกับเครื่องลูกข่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์มีการพัฒนาต่างๆอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ Windows NT, Windows 2000, Windows Server 2003 และ Windows Server 2008


     ระบบปฏิบัติการโอเอสทู วาร์ป (OS/2 Warp Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ออกแบบมาเพื่อใช้เป็นระบบควบคุมเครื่องแม่ข่าย ติดต่อกับผู้ใช้โดยระบบกราฟิก แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ทางบริษัทไอบีเอ็มจึงยกเลิกพัฒนาในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ บริษัทเซเรนิตีซิสเต็ม (Serenity System) ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า eComstation โดยรุ่นแรกคือ 1.2R และรุ่นล่าสุดคือ 2.0 RC7 Silver วางจำหน่ายเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

    ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris) เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมใคร ซิสเต็ม ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือการขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต ในอนาคตระบบปฏิบัติการโซลาริสมีโครงการจะพัฒนาเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยโค้ด (Open Source) ด้วย
 

 3 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS )   

   ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อม ๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( Embedded OS ) เรามักจะพบเห็นการใช้งานของระบบปฏิบัติการแบบฝังนี้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา เช่น Palm, pocket PC, Smart phone รวมถึงอุปกรณ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
   
   Pocket PC OS (Windows CE เดิม) 
   Palm OS     
   Symbian OS


 

   Pocket PC OS (Windows CE เดิม) บริษัทไมโครซอฟต์ ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการยักษ์ใหญ่ที่มีความชำนาญจากการสร้างระบบที่ใช้สำหรับเครื่องพีซีมาก่อน ได้หันมาเน้นการผลิตเพื่อใช้งานร่วมกับการควบคุมในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น โดยสร้างระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า Pocket PC OS (เดิมใช้ชื่อว่า Windows CE หรือ Windows Consumer Electronics แต่มีการตั้งชื่อใหม่นี้ในภายหลังซึ่งเริ่มตั้งแต่เวอร์ชัน 3.0 ขึ้นไป เพื่อให้ชื่อของระบบปฏิบัติการตัวดังกล่าวเหมือนกับชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กไปเลย)
 
     
 
 
 
ระบบปฏิบัติการ Pocket PC ที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง Pocket PC และโทรศัพท์มือถือบางรุ่น
 
 
 
  การทำงานของระบบปฏิบัติการดังกล่าว เป็นลักษณะที่ย่อขนาดการทำงานของ Windows ให้มีขนาดเล็กลงและกะทัดรัดต่อการใช้งานมากขึ้น (scaled-down version ) สามารถรองรับการทำงานแบบ multi-tasking ได้เช่นเดียวกันกับ OS ตัวอื่น ๆ เช่น ท่องเว็บหรือค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตไปได้พร้อม ๆ กับการฟังเพลงหรือตรวจเช็คอีเมล์ได้พร้อม ๆ กับการสร้างบันทึกช่วยจำ เป็นต้น ผู้ใช้ที่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการของ Windows มาก่อนจะใช้งานได้ง่ายและสะดวกมาก เนื่องจากรูปแบบและหน้าต่างการทำงานจะคล้าย ๆ กัน ปัจจุบันอาจพบเห็นในโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone บางรุ่นบ้างแล้ว
  
    Palm OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กันกับการนำเอาคอมพิวเตอร์แบบพกพามาใช้ในยุคแรก ๆ เรียกกันว่าเครื่อง Palm ( ผลิตขึ้นโดยบริษัทปาล์ม) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาก่อน Windows CE หรือ Pocket PC OS ของไมโครซอฟต์ (เนื่องจากมีการผลิตเครื่องขึ้นมาใช้งานก่อนนั่นเอง) ปัจจุบันอาจพบเห็นการนำเอาระบบนี้ไปใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพาของค่ายบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นนำ นอกเหนือจากเครื่องของบริษัทปาล์มด้วย เช่น Visor (ของค่ายแฮนด์สปริงซึ่งปัจจุบันรวมกิจการเข้ากับบริษัทปาล์มไปแล้ว) และ CLIE (ของค่ายโซนี่ที่ยุติการผลิตไปแล้ว) ซึ่งก็ใช้ระบบปฏิบัติการแบบนี้ด้วยเช่นกัน 
 
    Symbian OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone นอกจากนั้นยังสนับสนุนการทำงานแบบหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกันได้ด้วย (multi-tasking ) ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือมีความสามารถที่นอกเหนือจากแค่รับสายพูดคุยในแบบทั่วไปเพียงอย่างเดียว เช่น การบันทึกการนัดหมาย ท่องเว็บ ล่งและรับอีเมล์รวมถึงรับแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน ผลิตโดย บริษัทซิมเบียน ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนระหว่างผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่หลายค่าย นำโดย Nokia และ Sony ปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ได้เอา OS ชนิดนี้ไปใช้งานแล้วในโทรศัพท์มือถือของตน เช่น Sony Ericsson, Motorola, Nokia และ Samsung เป็นต้น

 
     
 
 
     
 


ที่มา http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/t10.htm

     http://thn21568tag31101-2-1-1.blogspot.com/2012/01/blog-post_25.h

     http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/t20.htm   



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การจัดการไฟล์

การจัดการ Process

ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ